ประวัติโรงพยาบาลกุดบาก

โรงพยาบาลกุดบากเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2526 ที่ดินเป็นที่สาธารณะมีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ เริ่มเปิดให้บริการในฐานะโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง

เมื่อ พ.ศ.2527 และยกระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง เมื่อ พ.ศ.2536 ปัจจุบันยังคงเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง

สังกัดกองสาธารณสุขภูมิภาค กรมสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลกุดบาก เลขที่ 249 หมู่ที่ 1 ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร

มีนายแพทย์ธนวรรษ หาญสุริย์ ปฎิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกุดบากเป็นแทพย์ประจำ มีแทพย์ประจำทั้งหมด จำนวน 3 คน

1.นายแพทย์นันทิวุติ โฆษะปัญญาธรรม ดำรงตำแหน่ง 1 เม.ย.2527 – 1 เม.ย.2529
2.นายแพทย์ฉัตรชัย โรจนมณเทียร ดำรงตำแหน่ง 2 เม.ย.2529 – 1 เม.ย.2530
3.นายแพทย์ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ ดำรงตำแหน่ง 2 เม.ย.2530 – 15 ม.ค.2537
4.นายแพทย์สมนึก กล่ำทวี ดำรงตำแหน่ง 16 ม.ค.2537 – 30 ก.ย.2538
5.นายแทพย์พันธ์นพ ควรดำรงธรรม ดำรงตำแหน่ง 3 ต.ค.2538 – 30 เม.ย.2541
6.นายแทพย์สมเกียรติ ชูบัณฑิตกุล ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2538 – 30 เม.ย.2541
7.นายแพทย์สมบูรณ์ วุฒิพิริยะอังกูร ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2541 – 4 พ.ค.2545
8.นายแทพย์ฐิติกณัฏฐ์ ชวนันทการุญ ดำรงตำแหน่ง 5 พ.ค.2545 – 30 เม.ย.2546
9.นายแพทย์มนต์ชัย เรืองชัยนิคม ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2546 – 2 มิ.ย.2547
10.แพทย์หญิงกรรณิการ์ ฝ่ายเทศ ดำรงตำแหน่ง 3 มิ.ย.2547 – 28 ก.พ.2549
11.แพทย์หญิงทิพวรรณ บวรกิติวงศ์ ดำรงตำแหน่ง 1 มี.ค.2549 – 30 เม.ย.2549
12.นายแพทย์ดนัย ไชยพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2549 – 31 พ.ค.2550
13.นายแทพย์อุดมศักดิ์ วิจิตรเศรษฐกุล ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2550 – 1 เม.ย.2551
14.นายแทพย์วสัต์ โกสีย์ไกรนิรมล ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2551 – 30 เม.ย.2552
15.นายแพทย์ปริญญา โชควิริยะประเสริฐ ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2552 – 30 เม.ย.2554
16.นายแพทย์นพรัตน์ ลอดวิชัย ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2554 – 1 เม.ย.2554
17.แพทย์หญิงอมรลักษณ์ กระแสร์ลาภ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค.2554 – 1 เม.ย.2555
18.นายแพทย์ธนวรรษ หาญสุริย์ ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2555 – ปัจจุบัน

 

ประเภทสถานบริการ จำนวน(แห่ง)
โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง 1
สถานีอนามัย 5
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 39
รวม 45

 

ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

อำเภอกุดบากมีพื้นที่ทั้งหมด 455 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดสกลนคร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่างๆดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนิคมน้ำอูน และอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

ทิศใต้ ติดต่อกับอำภูพาน จังหวัดสกลนคร

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

หนาวและร้อนจัดในฤดูร้อน ฝกตกชุกในฤดูฝน

การคมนาคม

อำเภอกุดบากมีทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดผ่าน ถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต ทำให้การเดินทางส่วนใหญ่ค่อนข้างสะดวก แต่ยังมีสภาพถนนบางสายที่สภาพถนนไม่ดีเป็นหลุมเป็นบ่อมาก โดยเฉพาะถนนสายกุดบาก – ห้วยยาง ที่จะเดินทางเข้าตัวจังหวัด ทำให้เกิดความล่าช้าในการเดินทาง

กลุ่มชาติพันธุ์

ชนพื้นเมืองดั้งเดิมเป็นเผ่ากะเลิง

ขนบธรรมเนียมประเพณี

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ยังมีประชากรบางส่วนที่ยังนับถือผี ประกอบพิธีกรรมทางพราหมณ์ มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ความเชื่อ ประเพณีและวิถีชีวิตบางอย่างยังมีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพอย่างมาก

 

สารเสพติดและสารกระตุ้นมีส่วนทำลายหัวใจ

การใช้สารเสพติดหรือสารกระตุ้นจำพวกสปีด ที่เป็นยาประเภทแอมเฟตามีน, ยาเอ็กซ์ตาซี่ อย่างยาอี ยาเลิฟ หรือยาไอซ์ เพื่อให้อารมณ์เบิกบานนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายหรือการใช้ชีวิตแต่อย่างใด

Read more

มะขามเทศ ผลไม้มากประโยชน์ ผลไม้ริมทางทั่วไปพบเห็นได้ทั่วทุกภาค ปลูกง่าย โตเร็ว ทนทาน จัดเป็นผลทีมีวิตามินซี

ผลไม้ริมทางทั่วไปพบเห็นได้ทั่วทุกภาค ปลูกง่าย โตเร็ว ทนทาน จัดเป็นผลทีมีวิตามินซีและอีสูง ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นใยอาหารที่มีอยู่มากดีต่อระบบขับถ่าย ส่วนแคลเซียมและเหล็กช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและโลหิตจาง

สรรพคุณทางยา

– เปลือก หมอพื้นบ้านใช้เปลือกมาต้มน้ำแล้วอมแก้ปากเปื่อย แผลในปาก แก้ปวดฟัน ดื่มแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน หรือใช้ล้างแผล เปลือกต้มกับน้ำรวมกับเปลือกข่อยและเกลือแกง แล้วนำมาอมแก้ปวดฟัน

– ราก แก้ท้องร่วง กระชับโลหิต และน้ำเหลือง

– เนื้อหรือผล ช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ เส้นผม ช่วยซ่อมแซมเซลล์ร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอล ปัองกันการอ่อนเพลียร่างกาย นอกจากนี้ยังใช้ฝักแก่จัดนำมาโขลกพอกหน้าได้อีกด้วย

– ดอกและใบอ่อน ใช้ทำยาย้อมผมหรือยาสระผม เป็นยาย้อมผ้า แห อวน

– เมล็ดแก่ นำมาคั่วกระเทาะเปลือก กินเป็นยาถ่ายพยาธิในท้องเด็ก

ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

เตยหอม : ลดน้ำตาลในเลือด ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดนํ้าตาลในเลือด

ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดนํ้าตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการทดลองทางคลินิก ในเมืองไทยเรามีการใช้รากเตยหอมในการรักษาเบาหวานมานาน และคนที่ไม่เป็นเบาหวานก็กินได้เช่นกัน

สรรพคุณทางยาสมุนไพร ต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย ใบสดใช้ตำพอกโรคผิวหนัง รักษาโรคหืด น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น นอกจากนี้ยังใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม

วิธีใช้ 

1. ยาขับปัสสาวะ ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม

2. ยาบำรุงหัวใจ ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง

3. รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด นำรากเตยหอมประมาณ 1 ขีด สับเป็นท่อนเล็กๆ ต้มกับนํ้า 1 ลิตร จนเดือด จากนั้นเคี่ยวต่อประมาณ 15-20 นาที นำยาที่ได้ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ใบเตยร่วมกับสมุนไพรตัวอื่น โดยนำใบเตยหอม 32 ใบ ใบสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วชงดื่มแบบชา หรือใส่หม้อดินต้ม กินเป็นยาต่างนํ้าทุกวัน

ข้อแนะนำ ควรกินต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน

** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **

ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ล้างผักปลอดภัย องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้กินผักและผลไม้วันละ 400 กรัม ทุกวัน

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้กินผักและผลไม้วันละ 400 กรัม ทุกวัน) จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ หัวใจขาดเลือด (ร้อยละ 31) หลอดเลือดในสมองตีบ (ร้อยละ 19) ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็ง เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร (ร้อยละ 19) มะเร็งปอด (ร้อยละ 12) มะเร็งลำไส้ใหญ่ (ร้อยละ 2) เป็นต้น แต่คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่กินผักและผลไม้อย่างเพียงพอ

ขณะที่ผลการคัดกรองความเสี่ยงของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคได้ทำการเจาะเลือดกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง (ตั้งแต่ปี 2555-2559) อยู่ที่ร้อยละ 33 และในปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 37 จะเห็นได้ว่า เกษตรกรมีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยจากการสัมผัสสารเคมีสูงขึ้น เนื่องจากมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้มากขึ้นทำให้ผักและผลไม้ที่ขายในท้องตลาดมีสารเคมีตกค้างเพิ่มขึ้นด้วย

ผู้ซื้อสามารถใช้ทางเลือกอื่นที่เหมาะสม “ล้างผัก” ได้แก่

1. ล้างด้วยผงฟู (เบกกิ้งโซดา) โดยผสมผงฟูครึ่งช้อนโต๊ะกับน้ำ 10 ลิตร แช่ผักผลไม้ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ช่วยลดสารพิษได้ร้อยละ 95

2. ล้างด้วยน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด จะช่วยลดสารเคมีได้ร้อยละ 60-84 ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้ล้างไข่พยาธิในผักสดได้อีกด้วย โดยปริมาณสารพิษตกค้างที่ลดลงจะขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีและปริมาณผัก ผลไม้ในแต่ละครั้งของการล้าง

ที่มา: มูลนิธิหมอชาวบ้าน

‘นมแม่’ สุดยอดสารอาหารสำหรับทารก

องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟแนะนำให้แม่ให้นมบุตรเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญกว่า 200 ชนิดต่อการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกัน อนุมูลอิสระที่จำเป็นสำหรับทารก และพัฒนาการทางสมองซึ่งส่งผลต่อความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ โดยเฉพาะสำหรับเด็กในช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 3 ขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาถึง 80%

‘นมแม่’ สุดยอดสารอาหารสำหรับทารก thaihealth

แฟ้มภาพ

รศ.นพ.สรายุทธ สุภาพรรณชาติ หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า “นมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นทั้งต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางด้านสมองของลูก เช่น ดีเอชเอ (DHA) และ เออาร์เอ (ARA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายทารกจำเป็นต้องได้รับจากอาหารโดยตรง เพราะในช่วงวัยทารก ร่างกายสร้างสารอาหารเหล่านี้ได้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยและอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ การได้รับดีเอชเอและเออาร์เอในปริมาณที่เหมาะสมจะเพิ่มการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างแสนล้านเซลล์สมองของลูกและยังช่วยพัฒนาจอประสาทตาและการมองเห็นของลูกอีกด้วย

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เมื่อกรดไขมันทุกชนิดรวมทั้งดีเอชเอ และเออาร์เอเหล่านี้ถูกผลิตออกมาจากต่อมผลิตน้ำนม จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบาง ๆ เรียกว่า MFGM (Milk Fat Globule Membrane) ซึ่งนับเป็นสารอาหารสมอง ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาท และยังช่วยในกระบวนการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง

ล่าสุด ศ.เจฟฟรีย์ เคลกฮอร์น ผู้อำนวยการสถาบัน Institute of Health & Biomedical Innovation for Child Health Research Centre of Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย เปิดเผยว่า เทคโนโลยีล่าสุด ทำให้เราสามารถเติมนวัตกรรมสารอาหาร MFGM ในผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็กได้ โดยจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า เมื่อองค์ประกอบหลักใน MFGM ทำงานร่วมกับ DHA จะช่วยเสริมการเชื่อมต่อเซลล์สมองเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ให้สมองทำงานเต็มที่ทั้งระบบ โดยงานวิจัยชี้ว่าทารกที่ดื่มนมที่เสริม MFGM จะพัฒนาทางด้านสติปัญญา และสมองใกล้เคียงกับเด็กที่ดื่มนมแม่ ดีกว่าทารกที่ดื่มนมสูตรปกติที่เพิ่มดีเอชเอเพียงอย่างเดียวถึง 4 จุด ทั้งนี้หลากหลายผู้เชี่ยวชาญระดับโลกให้การยอมรับและตื่นตัวกับการเติม MFGM ในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารกและเด็ก

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

1 53 54 55 56